"ชัยภูมิบ่ใกล้บ่ไกลพอนั่งรถไฟก็มาต่อรถยนต์ เครื่องบินก็เคยบินมาวนบินมาวน
ก็ตอนทำฝนเทียม" เพลงชัยภูมิบ้านพี่เป็นเพลงที่คนชอบร้องแซวชาวชัยภูมิที่มีแค่
รถไฟวิ่งเฉี่ยวและไม่มีสนามบิน แต่จริงๆแล้วที่ชัยภูมิมีสนามบินและมีเครื่องบินมา
ลงจอดแล้ว หลายคนอาจไม่เชื่อเพราะแม้แต่ชาวชัยภูมิบางคนเองยังไม่ทราบเลย
ทำไมนั้นหรือครับ เพราะสนามบินที่ว่ามันคือสนามบินลับ(เพราะถ้าคนรู้เยอะมัน
ก็จะไม่ลับ555)สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ก็ตอนทำฝนเทียม" เพลงชัยภูมิบ้านพี่เป็นเพลงที่คนชอบร้องแซวชาวชัยภูมิที่มีแค่
รถไฟวิ่งเฉี่ยวและไม่มีสนามบิน แต่จริงๆแล้วที่ชัยภูมิมีสนามบินและมีเครื่องบินมา
ลงจอดแล้ว หลายคนอาจไม่เชื่อเพราะแม้แต่ชาวชัยภูมิบางคนเองยังไม่ทราบเลย
ทำไมนั้นหรือครับ เพราะสนามบินที่ว่ามันคือสนามบินลับ(เพราะถ้าคนรู้เยอะมัน
ก็จะไม่ลับ555)สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
หลังการเลิกใช้พื้นที่ส่วนนี้ยังอยู่ใต้การดูแลของกองทัพอากาศ แต่ชาวบ้านส่วนมาก
เอาไว้ใช้หัดขับรถและเก็บหมากเล็บแมว(แลบเหยี่ยว)ต่อนกเขา กางข่ายไล่นก ที่ทิ้งเปลือกหน่อไม้ ไม่รู้หรอกว่าสนามบินแห่งนี้มีความเป็นมาอย่างไร
สนามบินนี้เป็นสนามบินของเสรีไทยครับ
เอาไว้ใช้หัดขับรถและเก็บหมากเล็บแมว(แลบเหยี่ยว)ต่อนกเขา กางข่ายไล่นก ที่ทิ้งเปลือกหน่อไม้ ไม่รู้หรอกว่าสนามบินแห่งนี้มีความเป็นมาอย่างไร
สนามบินนี้เป็นสนามบินของเสรีไทยครับ
สนามบินภูเขียว ตั้งห่างจากตัวเมืองอำเภอภูเขียวประมาณ 3-4 กม. ในเขตตำบล
โอโล สนามบินลับภูเขียวมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นในช่วงปลายของ
สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยได้มีการกล่าวถึงสนามบินลับภูเขียวในเอกสารหลายแห่งทั้งใน
และนอกประเทศ
"การขนส่งกระทำได้สะดวกโดยเครื่องบินลำเลียงขนาดใหญ่ของสัมพันธมิตร สามารถ
ขึ้นลง สนามบินลับของเสรีไทยที่ได้สร้างขึ้นในหลายพื้นที่ และที่ได้ใช้ประโยชน์มาก
ที่สุดในตอนปลายสงครามก็คือ สนามบินภูเขียว ที่ชัยภูมิ ซึ่งเครื่องบินลำเลียง ซี. 47
สามารถขึ้นลงได้ตลอดเวลา พ.ต. นิคอล สมิธ จาก โอ.เอส.เอส. ซึ่งเคยรับผิดชอบดู
แลนายทหารเสรีไทยสายอเมริกาที่ฐานปฏิบัติการซือเหมาในจีน ได้เดินทางเข้ามาประเทศ
ไทยโดยทางสนามบินภูเขียวนี้เมื่อ วันที่ 16 กรกฎาคม 2488 และได้กลับออกไปเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม" (รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ กับขบวนการเสรีไทยwww.pridi-phoonsuk.org)
(Thailand's secret war the free Thai, OSS, and SOE during world war II, E. Reynolds)

โอโล สนามบินลับภูเขียวมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นในช่วงปลายของ
สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยได้มีการกล่าวถึงสนามบินลับภูเขียวในเอกสารหลายแห่งทั้งใน
และนอกประเทศ
"การขนส่งกระทำได้สะดวกโดยเครื่องบินลำเลียงขนาดใหญ่ของสัมพันธมิตร สามารถ
ขึ้นลง สนามบินลับของเสรีไทยที่ได้สร้างขึ้นในหลายพื้นที่ และที่ได้ใช้ประโยชน์มาก
ที่สุดในตอนปลายสงครามก็คือ สนามบินภูเขียว ที่ชัยภูมิ ซึ่งเครื่องบินลำเลียง ซี. 47
สามารถขึ้นลงได้ตลอดเวลา พ.ต. นิคอล สมิธ จาก โอ.เอส.เอส. ซึ่งเคยรับผิดชอบดู
แลนายทหารเสรีไทยสายอเมริกาที่ฐานปฏิบัติการซือเหมาในจีน ได้เดินทางเข้ามาประเทศ
ไทยโดยทางสนามบินภูเขียวนี้เมื่อ วันที่ 16 กรกฎาคม 2488 และได้กลับออกไปเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม" (รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ กับขบวนการเสรีไทยwww.pridi-phoonsuk.org)
(Thailand's secret war the free Thai, OSS, and SOE during world war II, E. Reynolds)

"การรับส่งอาวุธโดยการทิ้งร่มชูชีพมีข้อจำกัดว่าทำได้เฉพาะคืนเดือนหงาย คือประมาณระหว่าง ขึ้น ๑๒ ค่ำ ถึงแรม ๔ - ๕ ค่ำ และอาวุธที่จะส่งมาให้นั้นมีจำนวนจำกัด ดังนั้นจึงมีการจัดสร้าง สนามบินลับขึ้น ฝ่ายสัมพันธมิตรมอบหมายให้ขบวนการเสรีไทยจัดสร้างขึ้นในภาคอีสาน เพื่อ รับเครื่องบินดาโกต้า (C-47) มี เตียง ศิริขันธ์ ผู้แทนจังหวัดสกลนครเป็นผู้ควบคุมดูแล โดย จัดสร้างขึ้นที่บริเวณอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ " (60ปี เสรีไทย วีรกรรมของผู้รับใช้ชาติ นิตยสาร สารคดี)

ภาพเครื่องบินลำเลียงอเนกประสงค์ ดาโกต้า C-47
"หลังจากนั้น เสรีไทยสายอเมริกา พร้อมกับเจ้าหน้าที่ โอเอสเอส ก็ลอบเข้าไปปฎิบัติการ
ในไทย ไม่ว่าจะเป็นการฝึกคนไทยให้ต่อต้านญี่ปุ่น การส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ หรือดูแล
สนามบินลับหลายแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สำคัญ คือ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ"
ศ. ดร. เจริญ เจริญรัชต์ภาคย์ อยู่ที่สนามบินภูเขียว
“รายงานการเคลื่อนไหวของทหารญี่ปุน ติดต่อข่าวอากาศให้ทางกรุงเทพฯ ภูเขียวเป็นไง
ติดต่อให้เรือบินดาโกดา 47 ลง บางทีมันก็ลงมั่งไม่ลงมั้ง เขาส่งเสบียงอาวุธมาให้ ส่งคน
บาดเจ็บไปแคนดี้" (สารคดีเสรีไทยตอนที่2 http://www.bbc.co.uk/thai/highlights /story/2005/08/050809 _free_thai_american.shtml) (Thailand's secret war the free Thai, OSS, and SOE during world war II, E. Reynolds)
จากการสอบถามยายของผม ยายเล่าให้ฟังว่าตอนเครื่องบินขึ้นเสียงดังมาก (บ้านของผมเวลาเครื่องบินขึ้นตรงหัวพอดี ห่างจากสนามบิน 2 กิโลเมตร )พ่อของยายจะทำหลุมหลบภัยไว้ใต้บ้าน ยายเล่าต่อว่า พ่อของยาย(ทวดผมครับ)ไปรับจ้างตัดกิ่งไม้ เพื่อนำมาคลุมเครื่องบินอำพรางไม่ให้เครื่องบินของทหารญี่ปุ่นเห็น

ในไทย ไม่ว่าจะเป็นการฝึกคนไทยให้ต่อต้านญี่ปุ่น การส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ หรือดูแล
สนามบินลับหลายแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สำคัญ คือ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ"
ศ. ดร. เจริญ เจริญรัชต์ภาคย์ อยู่ที่สนามบินภูเขียว
“รายงานการเคลื่อนไหวของทหารญี่ปุน ติดต่อข่าวอากาศให้ทางกรุงเทพฯ ภูเขียวเป็นไง
ติดต่อให้เรือบินดาโกดา 47 ลง บางทีมันก็ลงมั่งไม่ลงมั้ง เขาส่งเสบียงอาวุธมาให้ ส่งคน
บาดเจ็บไปแคนดี้" (สารคดีเสรีไทยตอนที่2 http://www.bbc.co.uk/thai/highlights /story/2005/08/050809 _free_thai_american.shtml) (Thailand's secret war the free Thai, OSS, and SOE during world war II, E. Reynolds)
จากการสอบถามยายของผม ยายเล่าให้ฟังว่าตอนเครื่องบินขึ้นเสียงดังมาก (บ้านของผมเวลาเครื่องบินขึ้นตรงหัวพอดี ห่างจากสนามบิน 2 กิโลเมตร )พ่อของยายจะทำหลุมหลบภัยไว้ใต้บ้าน ยายเล่าต่อว่า พ่อของยาย(ทวดผมครับ)ไปรับจ้างตัดกิ่งไม้ เพื่อนำมาคลุมเครื่องบินอำพรางไม่ให้เครื่องบินของทหารญี่ปุ่นเห็น

ภาพสนามบินในปัจจุบัน
บ้านของผมมองไปตรงขวานิดๆ ตรงหัวสุดภูเขา ห่างไป 2 กิโลเมตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น